406 จำนวนผู้เข้าชม |
มีไข้ต่ำ ผมร่วง ปวดหัว เวียนศีรษะ หายใจหอบ ไอ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปวดหู มีเสียงในหู ใจสั่น ขาดสมาธิ สมองล้า นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ สูญเสียการได้กลิ่นหรือการรับรส เกิดผื่นขึ้นตามตัว ในเพศหญิงอาจพบรอบประจำเดือนมาผิดปกติ
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันสาเหตุที่แท้จริงของภาวะลองโควิด (Long COVID) ได้ แต่สันนิษฐานว่าภาวะลองโควิดอาจเกี่ยวข้องกับ fragments of viral genome or viral antigens (เชื้อไวรัสที่ยังตกค้างอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยโควิด-19) ซึ่งไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อแล้ว แต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดภาวะการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกาย แม้ว่าจะไม่ได้แสดงอาการออกมา แต่สามารถกระตุ้นให้เกิดการทำงานภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติได้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะลองโควิด ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่หลายการศึกษาพบว่าเกี่ยวข้องกับ เพศหญิง อายุมาก ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัว มีอาการหรือมีความรุนแรงของโรคมากในระยะแรกที่ติดเชื้อ
ที่มา:
1. โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์.รู้จักภาวะลองโควิด (Long COVID) อาการ สาเหตุ วิธีรักษา.(ออนไลน์).
https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/long-covid
2. Chonburi Hospital Journal Vol.47 No.1 January-April 2022 https://thaidj.org/index.php/CHJ/article/view/11958/10221
3. การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (Post COVID syndrome) หรือภาวะ Long COVID สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข
4. Nutrient. 2022 Jan 7;14(2):256. Doi: 10.3390/nu14020256.Effectiveness of Curcumin on Outcomes of Hospitalized COVID-19 Patients: A Systematic Review of Clinical Trials (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35057437/)